ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(Behavioral
Theories)
แนวคิดที่สำคัญเกี่ยวกับทฤษฎีพฤติกรรมนิยม
1. พฤติกรรมทุกอย่างที่เกิดโดยการเรียนรู้และสามารถสังเกตได้
2. พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนรู้ที่เป็นอิสระหลายอย่าง
3. แรงเสริม(Reinforcement) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้
ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมแบ่งพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 2 กลุ่ม
1. Respondent Behavior หมายถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า เมื่อมีสิ่งเร้าตอบสนองก็จะเกิดขึ้น ซึ่งสามารถสังเกตได้ อธิบายได้โดย ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory)
1. พฤติกรรมทุกอย่างที่เกิดโดยการเรียนรู้และสามารถสังเกตได้
2. พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนรู้ที่เป็นอิสระหลายอย่าง
3. แรงเสริม(Reinforcement) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้
ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมแบ่งพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 2 กลุ่ม
1. Respondent Behavior หมายถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า เมื่อมีสิ่งเร้าตอบสนองก็จะเกิดขึ้น ซึ่งสามารถสังเกตได้ อธิบายได้โดย ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory)
2. Operant Behavior เป็นพฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา
(Emitted) โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน
และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม อธิบายได้โดยทฤษฎี Operant Conditioning
Theory
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
Pavlov ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning
Theory)
ฟาลอฟสรุปว่าการตอบสนองแบบนี้เป็นการตอบสนองที่ต้องวางเงื่อนไข
วัตสัน (John B.Watson) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
เป็นผู้นำกลุ่มจิตวิทยา
พฤติกรรมนิยม
จากการทดลอง วัตสัน
สรุปเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ได้ดังนี้
1)
พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้
โดยการควบคุมสิ่งเร้า ที่วาง
เงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติและการเรียนรู้จะคงทนถาวร
หากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
2)
เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใดๆได้ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้
ทฤษฏีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการลงมือทำ
แนวคิดของธอร์นไดค์กล่าวถึงการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus - S) กับการตอบสนอง (Response - R) โดยมีหลักเบื้องต้นว่า “การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง โดยที่การตอบสนองมักจะออกมาเป็นรูปแบบต่าง ๆ หลายรูปแบบ จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดี หรือเหมาะสมที่สุด เราเรียกการตอบสนองเช่นนี้ว่าการลองถูกลองผิด (Trial and error)
นำแมวใส่กรงขังไว้
แล้วนำอาหารมาวางไว้ข้างนอกกรงแมวจะพยายามหาทางออกจากกรงเพื่อมากินอาหาร
แมวจับโดนสลักทำให้ประตูเปิดออก แล้วแมวก็ได้กินอาหาร ในครั้งต่อมาแมวสามารถหาทางออกมากินอาหารได้เร็วกว่าครั้งแรกเพราะมีประสบการณ์จากครั้งก่อน
จากการทดลองธอร์นไดค์อธิบายว่า การตอบสนองซึ่งแมวแสดงออกมาเพื่อแก้ปัญหา
เป็นการตอบสนองแบบลองผิดลองถูก
แนวคิดของสกินเนอร์
แนวคิด สกินเนอร์เชื่อว่า การเชื่อมโยงจะเกิดระหว่างสิ่งเสริมแรงและการตอบสนอง (Response
) ไม่ใช่เกิดระหว่างสิ่งเร้า ( Stimulus) และการตอบสนอง
(Response )
จำลองการทดลองของสกินเนอร์
จากภาพ
เมื่อครูบอกว่าถ้าใครตอบคำถามที่ครูถามได้จะได้คะแนนเพิ่มนักเรียนก็จะยกมือขึ้นตอบเพื่อที่จะได้คะแนน
ตัวเสริมแรง (Reinforcer) หมาย ถึง สิ่งเร้าใดก็ได้ที่สามารถเพิ่มความสามารถและศักยภาพในการแสดงพฤติกรรมตอบ
สนองที่ต้องการ เช่น คะแนนดี เสริมแรงให้นักศึกษาขยันเรียนมากขึ้น คำชมทำให้เด็กพูดจาไพเราะขึ้น
เป็นต้น